อวัจนภาษา หมายถึง เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน
เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน โดยใช้อากัปกิริยา ท่าทาง น้ำเสียง สายตาหรือ ใช้วัตถุ การใช้สัญญาณ และ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
หรือแสดงออกทางด้านอื่นที่สามารถรับรู้กันได้ สามารถแปลความหมายได้และทำความเข้าใจต่อกันได้
การแสดงออกด้วยอวัจนภาษา
อวัจนภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มีแหล่งแสดงออกด้วยอากัปกิริยา หรือที่เกิดการแสดงออก ในหลายแหล่งด้วยกัน ได้แก่
อวัจนภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มีแหล่งแสดงออกด้วยอากัปกิริยา หรือที่เกิดการแสดงออก ในหลายแหล่งด้วยกัน ได้แก่
สัญลักษณ์ที่แสดงออกด้วยอากัปกิริยา
มีดังนี้
1.1 เกิดขึ้นตามธรรมดาวิสัย
เช่น การยิ้ม การโบกมือ การส่ายหน้า การปัดเมื่อแมลง ไต่ตอม เป็นต้น
1.2 เกิดจากอารมณ์แรงเป็นเครื่องเร้า
เช่น เวลาที่มีอารมณ์โกรธเลือดจะสูบฉีด
จนหน้าแดง มือเกร็ง กำหมัด
เป็นต้น
2. สัญลักษณ์แสดงออกที่ร่างกาย
เป็นการใช้วัตถุประกอบกับร่างกายแล้วบ่งบอกความหมาย ได้โดยไม่ได้ แสดงกิริยาอาการ เช่น การแต่งกาย เครื่องประดับ ทรงผม เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายทั้งสิ้น
เป็นการใช้วัตถุประกอบกับร่างกายแล้วบ่งบอกความหมาย ได้โดยไม่ได้ แสดงกิริยาอาการ เช่น การแต่งกาย เครื่องประดับ ทรงผม เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายทั้งสิ้น
3. สัญลักษณ์แสดงออกด้วยวัตถุที่แวดล้อม
เป็นสิ่งที่บุคคลให้ความหมายหรือตกลงให้ สิ่งนั้นมีความหมายหนึ่ง ๆ เช่น ลักษณะและขนาดของบ้านเรือน สามารถบอกรสนิยม ฐานะ หรือเชื้อชาติของเจ้าของบ้านได้ สัญลักษณ์บางอย่างต้องการให้รู้ทั่วกัน เช่น ลูกศรบอกทาง สี แสง เสียง เป็นต้น
เป็นสิ่งที่บุคคลให้ความหมายหรือตกลงให้ สิ่งนั้นมีความหมายหนึ่ง ๆ เช่น ลักษณะและขนาดของบ้านเรือน สามารถบอกรสนิยม ฐานะ หรือเชื้อชาติของเจ้าของบ้านได้ สัญลักษณ์บางอย่างต้องการให้รู้ทั่วกัน เช่น ลูกศรบอกทาง สี แสง เสียง เป็นต้น
4. สัญลักษณ์แสดงออกด้วยพฤติกรรมแวดล้อม
ได้แก่
สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุ หรือคนที่แวดล้อมที่แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับเรา ทำให้เราต้องแสดงพฤติกรรม ตอบสนอง เช่น การปฏิบัติตามประเพณีต่าง ๆ การชื่นชมศิลปกรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่สื่ออารมณ์และวัฒนธรรมได้
สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุ หรือคนที่แวดล้อมที่แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับเรา ทำให้เราต้องแสดงพฤติกรรม ตอบสนอง เช่น การปฏิบัติตามประเพณีต่าง ๆ การชื่นชมศิลปกรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่สื่ออารมณ์และวัฒนธรรมได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น